วัดชลประทานรังสฤษดิ์

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านปากด่าน ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

วัดชลประทานรังสฤษดิ์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ไปเยี่ยมชมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ ได้ฟังการแสดงธรรมของพระปัญญานันทภิกขุ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ในขณะนั้น และเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก

กรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” ที่ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี[3] เป็นการผาติกรรมทดแทนการเข้าใช้ที่ดินของวัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากคลองบางตลาด (ปัจจุบันยังคงมีโบราณสถานเดิมของทั้งสองวัด เรียกรวมกันว่า “พุทธสถานเชิงท่า-หน้าโบสถ์”) เพื่อสร้างเป็นท่าเรือของกรมชลประทาน และได้อาราธนาพระปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสใน พ.ศ. 2503

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ มีบรรยากาศร่มรื่นทั่วบริเวณวัด มีกิจกรรมทุกเช้าวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. โดยมีการสวดมนต์ บรรยายปาฐกถาธรรม และถวายเพลพระสงฆ์ ที่ลานหินโค้ง

ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้แต่งหนังสือชื่อ “ชีวิตกับความตาย: ท่านได้อะไรเมื่อไปงานศพ” การจัดงานฌาปนกิจศพที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายต่างจากที่อื่นๆ มีเพียงการบรรยายธรรม ไม่มีการเลี้ยงอาหาร การแสดงมหรสพ และงดพวงหรีด

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดปราสาท ที่ เมืองนนทบุรี คลิก

วัดปราสาท

วัดปราสาท เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านบางกร่าง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันพระมหานที ธมฺมธีโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปราสาท

สันนิษฐานว่าวัดปราสาทสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยดูจากอุโบสถแบบมหาอุด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2310 แต่สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางประมาณสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สร้างโดยเจ้าพระยากลาโหม (องค์ไล) ผู้ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์ในพระนาม พระเจ้าปราสาททอง เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันอุโบสถของวัดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

อุโบสถแอ่นเป็นท้องสำเภาจีน เป็นโบสถ์แบบมหาอุด มีผนังด้านข้างทั้งสองไม่มีหน้าต่าง ด้านหน้ามีประตูทรงปราสาทประดับลวดลายปูนปั้น ด้านหลังมีเพียงช่องแสงเล็ก ๆ หลังพระประธาน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นเรื่องทศชาติชาดก เขียนขึ้นโดยช่างสกุลชั้นสูงนนทบุรี เป็นภาพเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี และลบเลือนไปมากแล้วในปัจจุบัน

ลังคาด้านหน้าเชิดขึ้นเล็กน้อยฐานเป็นเส้นโค้งแบบเดียวกับหลังคาหน้าบัน หน้าบันจำหลักสวยงามด้วยรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) ภายในประดิษฐานพระประธานและพระพุทธรูปจัดเป็นหมู่รอบองค์พระประธาน สันนิษฐานว่าเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา ส่วนพระประธานเป็นศิลปะอู่ทอง ยังมีธรรมาสน์สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางถึงปลายตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญ กุฏิทรงไทยที่เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการอนุรักษ์

ภายในวัดมีต้นตะเคียนยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อายุกว่า 1,000 ปี มีความยาว 40.40 เมตร ขนาดรอบลำตันกว้าง 4 เมตร 12 เซนติเมตร

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดปราสาท ที่ เมืองนนทบุรี คลิก

วัดโชติการาม

วัดโชติการาม [โช-ติ-กา-ราม] เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านบางไผ่ใหญ่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

วัดโชติการามเดิมมีชื่อว่า วัดสามจีน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2350 สันนิษฐานว่าอาจเป็นพี่น้องชาวจีน 3 คน เป็นผู้สร้าง ต่อมาเจ้าพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเจ้าพระยาโชฎึกฯ คนใด) เป็นผู้ดำเนินการบูรณะและก่อสร้างเพิ่มเติม วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ต่อมาใน พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น “วัดโชติการาม” ตามราชทินนามของเจ้าพระยาโชฎึกฯ ในด้านการศึกษา วัดได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 นอกจากนั้นยังให้ราชการเปิดโรงเรียนและสถานีอนามัยในวัด

พระอุโบสถของวัดมีฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ไม่มีช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปั้นเป็นรูปภูริทัตชาดกท่ามกลางลายปูนปั้น ไม้ดอกไม้ประดับ เครื่องถ้วยชาม ซุ้มจระนำประดับถ้วยชามด้วยเช่นกัน วิหารทรงโรงก่ออิฐถือปูน 3 ห้อง ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี นามว่า หลวงพ่อสุโขทัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ประตูด้านหน้าวิหารสลักเป็นภาพทวารบาลอย่างจีน วัดยังมีธรรมาสน์ คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ นอกวิหารมีกำแพงแก้วโดยปรางค์ขนาดเล็กประดับกระเบื้องเหลืองอยู่ที่มุมกำแพงทั้งสี่ มีเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบอยู่ระหว่างโบสถ์กับวิหาร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และศาลาการเปรียญหลังเก่าของวัดเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2540

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดโชติการาม (สามจีน) ที่ เมืองนนทบุรี คลิก

วัดสังฆทาน

วัดสังฆทาน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านบางไผ่ใหญ่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 25 ไร่ ปัจจุบันพระครูปลัด ไพรินทร์ สิริวฑฺฒโน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

สันนิษฐานกันว่าวัดสังฆทานเดิมชื่อ วัดศาริโข สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยช่างที่มีความชำนาญตามแบบลังกาวงศ์ในสมัยสุโขทัย โดยพิจารณาจากพุทธลักษณะขององค์หลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบอู่ทอง กระเบื้องเชิงชายหรือกระเบื้องหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่า และอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานอุโบสถ ต่อมาวัดขาดผู้ทะนุบำรุงจนกลายเป็นวัดร้างกลางสวนผลไม้ แต่ชาวบ้านยังคงเข้ามาสักการะหลวงพ่อโตและนิมนต์พระสงฆ์จากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานเป็นประจำจนเรียกขานกันติดปากว่า “วัดสังฆทาน” จากนั้นหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ ได้เดินทางมาพบวัดเมื่อ พ.ศ. 2511 และร่วมกับพระเณรและชาวบ้านดำเนินการบูรณะพัฒนาเมื่อ พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร และได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

Facebook: วัดสังฆทาน

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดสังฆทาน ที่ เมืองนนทบุรี คลิก

วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

วัดเขมาภิรตาราม เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงบูรณปฏิสังขรณ์เป็นวัดหลวงในสมัยอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดบัญชีกฐินหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เดิมเรียกว่า วัดเขมา บางครั้งเรียกว่า “วัดเข็นมา” (คำว่า เขมา มีความหมายว่า ความเกษมสุข ความพ้นจากเครื่องห่วงใย ความปลอดจากกังวลทั้งหลาย)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรส (ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอวัดเขมาเป็นวัดสำหรับกฐินในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี จากนั้นได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขมาพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่จากพระราชวังจันทรเกษมที่อยุธยามาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และมีการฉลองใน พ.ศ. 2371 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อฉลองพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี แล้วพระราชทานนามเพิ่มว่า วัดเขมาภิรตาราม

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ? คลิก

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในหมู่ที่ 3 บ้านท่าน้ำนนท์ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 160 ปี ปัจจุบันมี พระเทพวชิรนันทาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี เจ้าอาวาสวัดบัวขวัญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติ

วัดนี้จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นโทของจังหวัด เช่นเดียวกับวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหารบนเกาะเกร็ด สร้างขึ้นเมื่อปี 2392 ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นตรงที่เป็นนิวาสสถานเดิมของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) อดีตเจ้าเมืองนนทบุรี กับคุณหญิงเพ็ง ผู้เป็นพระอัยกา (ตา) และพระอัยยิกา (ยาย) ของพระองค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ผู้เป็นพระราชมารดา โดยพระราชทานนามว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ” ตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จ การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จในรัชสมัยนี้เนื่องจากพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394

สิ่งสำคัญภายในวัดคือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้กับท่าน้ำของวัดนอกจากนี้ยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถที่ทำเป็นกำแพงป้อมค่ายแห่งเดียวในประเทศไทย จึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครแนวย้อนยุคหลายเรื่อง

เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ทางจังหวัดนนทบุรีได้กระทำพิธีพลีกรรมตักน้ำบริเวณกลางแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติเพื่อนำไปใช้เป็นน้ำอภิเษกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะถือว่าแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เพียงแห่งเดียวของจังหวัด

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส หรือ เรือ? คลิก

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส [ปะ-ระ-ไม-ยิ-กา-วาด] เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งในหมู่ที่ 7 บ้านโอ่งอ่าง ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

  • ชื่อสามัญ วัดปากอ่าว
  • ที่ตั้ง เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • ประเภท พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร
  • เจ้าอาวาส พระวชิรรังษี (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” (มอญ: ဘာမုဟ်ဂဒုင် แปลว่า วัดแหลมที่ยื่นไปในน้ำ)

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

พระประธานประจำพระอุโบสถ

สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์

ดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะ นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเกาะเกร็ด

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว สามารถไปจอดรถยนต์ได้ที่วัดสนามเหนือ (วัดปิดประตู 3 ทุ่ม แสดงว่าใครเอารถมาอยู่ได้ถึง 3 ทุ่ม) โดยวันจันทร์-ศุกร์ จอดรถยนต์ฟรี แต่วันเสาร์-อาทิตย์มีการเก็บค่าจอดรถยนต์

เมื่อจอดรถยนต์แล้ว ให้เดินทางไปยัง “จุดนั่งเรือข้ามฝั่ง” ซึ่งจะจ่ายค่านั่งเรือที่ฝั่งวัดปรมัยยิกาวาส (มีค่าบริการขาไป 3 บาท และ ขากลับ 3 บาท) เมื่อถึงฝั่งเกาะเกร็ดแล้วบริเวณนั้นจะมีให้เช่า รถจักรยาน (50 บาท) และมอไซต์ไฟฟ้า (150 บาท) แบบเหมาตลอดทั้งวัน

วิธีการไปยัง วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร ที่ ปากเกร็ด โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ คลิก